วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รถที่ชื่นชอบ SR




เปิดตำนาน Yamaha สายพันธุ์ SR 400/500ทำไมรถรุ่นนี้ถึงได้มีอายุการผลิตที่ยาวนานเกือบ30ปี ?ทำไมถึงมีการปรับเปลี่ยนโฉม(Minor Change) ทั้งหมด 21ครั้งตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงปัจจุบัน ทำไมมันถึงไม่ยอมตกยุคหนำซ้ำยังได้รับความกระแสความน ิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันเป็นเรื่องที่น่าศึกษาและค้นคว้า และนี่คือตำนาน
Yamaha ตระกูล SR 400/500 ได้เริ่มสายการผลิตในครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1978 โดยเริ่มผลิตด้วยรุ่น 500 ก่อน ซึ่งได้ใช้เครื่องยนต์ของรถแนววิบากรุ่นพี่คือ Yamaha XT 500 (เริ่มผลิตปี 1976) เป็นต้นแบบ หลังจากนั้นจึงผลิตรุ่น 400 ตามออกมา
ด้วยการออกแบบรูปทรงเพื่อสนองความต้องการในยุคสมัยนั ้น (ยุครุ่งเรืองของรถมอเตอร์ไซค์จากเมืองผู้ดีอังกฤษ)
เครื่องยนต์สี่จังหวะสูบเดียว 400และ500cc. ระบบการไหลเวียนของน้ำมันเครื่องโดยใช้เฟรมของตัวรถ ซึ่งเป็นที่ต้องตาต้องใจวัยรุ่นยุคนั้นอยู่ไม่น้อยเล ยทีเดียว และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนสีสันลายถัง,โลโก้,ระบบเบร ค เป็นต้น มีการผลิตรุ่น SP ทั้งหมด2รุ่น และ Special Edition ทั้งหมด4ครั้ง ที่เราจะได้มาดูในรายละเอียดกันต่อไป

อวยพรปีใหม่




ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่
ขออวยชัยให้มีสุขทุกข์อย่าหมาย
สรรพทุกข์สรรพโศกอย่ากล้ำกลาย
อันตรายภัยทั้งผองอย่าแผ้วพาน
อโรคะพยาธิให้แคล้วคลาด
ขออำนาจพุทธคุณบุญสืบสาน
ให้พะละมีมากล้นยิ่งยืนนาน
ตลอดกาลจงพาลพบแต่สิ่งดี

วันรัฐธรรมนูญ







    วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม ซึ่งโปรดเกล้าให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภาได้ทรงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศจึงได้ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทาน รัฐธรรมนูญ "ฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร" ให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญดังนี้ "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร" ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นคือ คณะราษฎร์

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553